‘สนธิรัตน์’ ขับเคลื่อนมิติพลังงานยั่งยืน สู่ชุมชนหนองจอก ต้นแบบธุรกิจเพื่อสังคม

1311
views
พลังงานยั่งยืน สู่ชุมชน

กระทรวงพลังงาน หนุนแนวคิด พลังงานยั่งยืนในชุมชน ลงพื้นที่ชุมชน ชุมชนคอยรุดดีน เขตหนองจอก กรุงเทพฯ ต้นแบบธุรกิจเพื่อสังคม

 พลังงานยั่งยืน สู่ชุมชน

เมื่อวันที่ 17 ม.ค.63 ที่ผ่านมา นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่ชุมชนคอยรุดดีน เขตหนองจอก กรุงเทพฯ ศึกษาดูงานร้านอาหารร่มไม้ปลายนา ซึ่งเป็นร้านอาหารที่ดำเนินงานในรูปแบบ Social Enterprise สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และประกอบอาชีพเกษตรกรรม เน้นสร้างรายได้และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

 พลังงานยั่งยืน สู่ชุมชน

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ได้เดินทาง มาที่เขตหนองจอกและได้รับการต้อนรับจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ท่านศิริพงษ์ รัสมี และผู้อำนวยการเขตหนองจอก ซึ่งเขตหนองจอกนี้เป็นพื้นที่พิเศษของกรุงเทพฯที่เป็นทั้งเมืองและชนบท การพัฒนาจึงต้องใช้รูปแบบ ที่พิเศษกว่าที่อื่น ซึ่งผมดีใจมากที่ได้พบกับผู้นำชุมชนที่ให้ความใส่ใจในชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน และต้องการที่จะพัฒนาพื้นที่ในชุมชน โดยเฉพาะในเรื่องของการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการบริหาร จัดการขยะ ซึ่งกระทรวงพลังงานก็ยินดีให้การสนับสนุนโดยเฉพาะเรื่องการนำขยะมาทำเป็นเชื้อเพลิง การนำพลังงานกลับมาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเป็นการลดภาระงบประมาณในการกำจัดขยะของส่วนกลาง การพัฒนาพลังงานในรูปแบบอื่นๆ รวมทั้งการสร้างศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงาน

 พลังงานยั่งยืน สู่ชุมชน

“ผมเชื่อมั่นว่าที่นี่สามารถดำเนินการบริหารจัดการขยะของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะชุมชนมีความเข้มแข็ง กระทรวงพลังงานจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกระดับให้การบริหารจัดการด้านพลังงาน เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเสนอแนะต่างๆ ของทางชุมชน ก็สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมผ่านกลไกของการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยมีกระทรวงพลังงานเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน องค์ความรู้ด้านพลังงาน” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าวในท้ายที่สุด

 พลังงานยั่งยืน สู่ชุมชน

 พลังงานยั่งยืน สู่ชุมชน

ทั้งนี้ ชุมชนคอยรุดดีน เขตหนองจอกมีประชากรประมาณ 532 คน 135 ครัวเรือน ซึ่งต้องการขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงพลังงานขับเคลื่อนให้ชุมชนเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการด้านพลังงาน เช่น การบริหารจัดการขยะในชุมชนด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยอาจผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะอัดก้อน (Refuse-Derived Fuel : RDF) การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ที่มีอยู่จำนวนมากในชุมชน ทั้งโค กระบือ และแพะ หรือการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์เพื่อป้อนให้กับศูนย์กีฬาของชุมชนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เป็นต้น

#EnergyForAll

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE