ชะอวดเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งชื่อของอำเภอเหมือนกับชื่อของตำบล ในสมัยก่อนอยู่ภายใต้การปกครองของอำเภอร่อนพิบูลย์ โดยมี 5 ตำบล คือ ตำบลชะอวด ตำบลท่าประจะ ตำบลท่าเสม็ด ตำบลวังอ่าง ตำบลเคร็ง ศูนย์กลางของตำบลชะอวด คือวัดชะอวด หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “วัดอวด” ปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลบ้านชะอวด อำเภอจุฬาภรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือว่าเป็นวัดที่เก่าแก่ และเป็นแหล่งชุมชนในสมัยโบราณ
ล่องแพไม้ไผ่ บ้านวังหอน จังหวัดนครศรีธรรมราช
น้ำใสสีเขียวมรกต หนึ่งในที่เที่ยวอันซีนเมืองไทย ล่องแพบ้านวังหอน กิจกรรมล่องแพไม้ไผ่ ณ บ้านวังหอน หรือ วังลับแล อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช เป็นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนต้นน้ำบ้านวังหอนรวมกลุ่มกันทำ โดยมีคอนเซ็ปท์ที่ชัดเจนคือ มาโดดคลอง ล่องแพ แลธรรมชาติ บนแพไม้ไผ่
ล่องแพไม้ไผ่ บ้านวังหอน สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่กำลังมาแรงแห่งนี้ ตั้งอยู่ในอำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ไปล่องแพไม้ไฝ่ สัมผัสน้ำไหลเย็น สีฟ้าเขียว และธรรมชาติโดยรอบ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อาทิ ชมป่าต้นน้ำเขื่อน เที่ยวถ้ำ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชิมฝรั่งปลอดสารพิษ ทำอาหารจากผักที่ปลูกเอง เลี้ยงปลาไว้ทำอาหารเอง ฯลฯ
อีกทั้งที่นี่ยังมีที่พักทั้งเต็นท์ และกระท่อมไม้ไผ่ ให้เราได้พักผ่อนอยู่ท่ามกลางธรรมชาติได้อย่างง่ายดาย และเนื่องจากว่าที่นี่เป็นชุมชนเก่าแก่ เราจะได้เห็นวิถีชีวิตแบบชาวบ้านที่แสนเรียบง่าย สามารถเที่ยวชม สวนผลไม้ และสถานที่ใกล้เคียงอื่นๆ ได้อีกมากมาย อาหารพื้นบ้านก็อร่อย ใครมายังติดใจ!
อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส หมู่ที่ 5 ตำบลวังอ่าง
อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส หรือเขี่อนห้วยน้ำใส … ความงามที่สะกดได้ทุกสายตา อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส หรือเขี่อนห้วยน้ำใส ตั้งอยุ่หมู่ที่ 5 ตำบลวังอ่าง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และหมู่ที่ 3 ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ล้อมรอบไปด้วยภูเขามากมาย บรรยากาศดี วิวสวย น้ำใสสะอาด
เริ่มดำเนินการก่อสร้างปีงบประมาณ 2534-2539 ระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปี
น้ำตกหนานสวรรค์ ต.วังอ่าง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
พักกายพักใจกับธรรมชาติ น้ำตกหนานสวรรค์ เป็นน้ำตกที่เกิดจากแหล่งน้ำซับจากเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาแดนตรัง ซึ่งจะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส Photo by.: ลุงหมู
น้ำตกหนานสวรรค์ ตั้งอยู่ในเขต อุทยานแห่งชาติเขาปู่-เขาย่า ซึ่งเกิดจากแหล่งน้ำซับบน เทือกเขาบรรทัด ตกลงมาเป็นแอ่งน้ำน้อยใหญ่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส.
ถ้ำวังนายพุฒ บ้านวังหอน อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
ถ้ำวังนายพุฒ เป็นถ้ำที่มีความสวยงามวิจิตรตระการตาด้วยหินงอก หินย้อย ประดับประดา มีความกว้างประมาณ 100 เมตร ความยาว 400 เมตร และมีทางลอดทะลุไปอีกด้านหนึ่งได้ และมีลักษณะพิเศษคือ มีถ้ำขนาดเล็ก ๆ เป็นหลืบถ้ำอีกเป็นจำนวนมาก
เป็นที่อาศัยของค้างคาวจำนวนนับพัน ๆ ตัว สภาพป่ารอบบริเวณถ้ำก็ยังอุดมสมบูรณ์ ปากทางเข้าถ้ำก็เป็นลานหินกว้างรูปร่างแปลกตา
วัดเขาพระทอง ตำบลเขาพระทอง อำเภอชะอวด ต.เขาพระทอง อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช
ตามหลักฐานที่ปรากฏได้จารึกไว้ว่า วัดเขาพระทอง สร้างมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัยตอนต้น หรือในยุคของกษัตริย์คนสำคัญคือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช และพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช เป็นวัดที่เก่าแก่มีอายุประมาณ 800 กว่าปี มีพระพุทธรูปสีทองจำนวนมากถึง 29 องค์ ซึ่งพระพุทธรูปเหล่านั้นประดิษฐานอยู่รอบๆ ภูเขาทางด้านทิศตะวันออก เป็นพระปูนปั้นด้วยปูนขาวผสมด้วยน้ำผึ้งอ้อย และน้ำมันยาง ส่วนโครงสร้างภายในเป็นโครงสร้างที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหมด ทั้งที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่จำนวน 20 กว่ารูป และทั้งซากปรักหักพังประมาณ 40 – 50 รูป
ตามตำนานเล่าต่อกันมาว่า ในสมัยที่มีการสร้างพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช พระนางเหมชาลาได้นำคนและสิ่งของมาช่วยงานก่อสร้างพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เมื่อมาแวะพักระหว่างทางจึงได้สร้างพระพุทธรูปสีทองขึ้นเป็นจำนวนมาก บรรดาพระพุทธรูปสีทอง 29 องค์ มีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่ง ซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดที่ชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อองค์ใหญ่” ที่ด้านหลังผนังถ้ำของหลวงพ่อองค์ใหญ่เยื้องไปทางด้านซ้าย มีรอยฝ่ามือขนาดใหญ่ปรากฏอยู่บนแผ่นหิน ซึ่งเป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ผู้ที่ขึ้นไปกราบไหว้ขอพร นอกจากนี้หลวงพ่อองค์ใหญ่ยังเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ในด้านการป้องกันศาสตราวุธทั้งหลายและอันตรายทั้งปวง จากประสบการณ์ของผู้ที่พกเหรียญหลวงพ่อองค์ใหญ่ติดตัวไว้ จะแคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งหลาย
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2491 มีพระธุดงค์รูปหนึ่งชื่อ หลวงพ่อเขียด ท่านธุดงค์มาปักกรดอาศัยอยู่ที่เชิงเขาหน้าพระพุทธรูปโบราณที่ประดิษฐานเรียงรายอยู่ตามเชิงเขาเป็นแนวยาว เมื่อหลวงพ่อเขียดออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้านเขากอย ซึ่งห่างไกลจากที่พักของท่านประมาณ 3 กิโลเมตร ชาวบ้านหลายครัวเรือนได้ตักบาตร กับท่าน และได้สอบถามท่านว่าพักอยู่ที่ไหน เมื่อท่านแจ้งรายละเอียดให้ทราบ จึงนำพวกชาวบ้านรวมหลายคนติดตามขึ้นมาที่เขา ณ ที่พักของท่าน เมื่อชาวบ้านมาพบเห็นก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธา คิดจะสร้างเป็น สำนักสงฆ์
จึงนิมนต์หลวงพ่อเขียดให้อยู่ประจำ ณ ที่นั้น แล้วชาวบ้านก็จัดปลูกสร้างที่พักขึ้นด้วยไม้หลังคา มุงจาก สาคูบ้าง เป็นกุฏิพระพักนอน เป็นที่ฉันอาหาร เมื่อมีชาวบ้านเข้ามาที่พักสงฆ์มากขึ้นก็ช่วยกันแผ้วถางป่าออกเป็นบริเวณกว้างพอสมควร แล้วสร้างโรงเรือนเป็นที่ทำบุญฟังธรรมฟังเทศน์จากหลวงพ่อในวัน ธรรมสาวนะ คือ วันพระ เป็นประจำ ต่อมาชาวบ้านก็ให้ลูกหลานเข้ามาบวชบรรพชาอุปสมบทอยู่จำพรรษา กับหลวงพ่อ ซึ่งแต่ละปีไม่น้อยกว่า 10 รูป จากนั้นจึงตั้งชื่อว่า “สำนักสงฆ์เขาพระ”
สะพานโค้งชะอวด
สะพานโค้ง ก็คือสะพานรถไฟข้ามคลองชะอวด อยู่เลยมาจากสถานีรถไฟชะอวดไปหน่อยเดียว สะพานโค้งเป็นสะพานเหล็กกล้า ประกอบต่อมั่นคง โค้งเชื่อมสองฝั่งคลอง สำหรับรถไฟผ่านจากตำบลชะอวดกับตำบลท่าเสม็ด ข้าง ๆ มีละพานทุ่นลอยน้ำคู่ขนานสำหรับชาวบ้านเดินทางด้วย
สะพานโค้งเป็น Landmark 100 ปี ที่พลาดไม่ได้เช่นกัน ชมความ งดงาม และต้องถ่ายรูปคู่สะพานโค้ง ยามเย็น ยืนบนสะพานทุ่นกลางแม่น้ำชะอวด ชมพระอาทิตย์ตก สวยงามมาก ขอบอก
คืนนี้ตี 2 รอชมปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” จนถึงรุ่งสางของวันที่ 4 มกราคม