#วัดถ้ำเขาแดง ( วัดคูหาสัตยราม ) สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศก เพื่อเป็นที่หลบภัยจากพวกชวาที่ยกมาโจมตีเมืองนครศรีธรรมราชในยุคโบราณ และยังเป็นที่พำนักของ ” เทวดาเขาแดง ” ราชครูเฒ่าของพระเจ้าศรีธรรมโศก ผู้แก้อาถรรพ์กาสี่ฝูงพระบรมธาตุนคร
” เทวดาเขาแดง ” ราชครูเฒ่าของพระเจ้าศรีธรรมโศก ผู้แก้อาถรรพ์กาสี่ฝูงพระบรมธาตุนคร ภายในวัด มีพระพุทธรูปหมู่ ที่ถ้ำเขาแดง เป็นโบราณสถานหลักของวัด ซึ่งมีพระพุทธรูปทรงเครื่อง พระพุทธรูปประธาน พระอัครสาวก เป็นศิลปะที่เก่าแก่ไปถึงยุคสร้างพระบรมธาตุนคร
ถัดไปไม่เท่าไหร่ก็เป็นศาลของเทวดาเขาแดง ราชครูองค์สำคัญของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ให้ผู้คน ลูกหลานที่นับถือสักการะบูชาได้ตลอดเวลา
ประวัติเทวดาเขาแดง วัดคูหาสัตยาราม ( ถ้ำเขาแดง ) ตั้งอยู่ที่ถนนคูหาสัตยาราม ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ.834 นางเหมชาลาและทนกุมารนำพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูกพระพุทธเจ้า) มาฝังไว้บนหาดทรายแก้ว ต่อมาได้มีการสร้างสถูปใหม่ครอบพระธาตุและเสกกาพยนต์ 4 ฝูง ไว้รักษา คือ กาเดิม กาชาด กาแก้ว การาม
ต่อมาราวปี พ.ศ.1061 มีพราหมณ์ชาวอินเดีย เดิมชื่อ “พราหมณ์มาลี” จากราชสำนักอโศกได้อพยพพวกลงเรือสำเภาหลายร้อยลำจากอินเดียมาขึ้นบกที่บ้านทุ่งตึก ใกล้เมืองตะกั่วป่า ฝั่งทะเลตะวันตก แล้วอพยพไปตามลำน้ำตะกั่วป่า ข้ามเขาสก ล่องเลียบริมฝั่งแม่น้ำพุมดวงมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมาตั้งมั่นอยู่บ้านน้ำรอบ อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
มีท่าทีว่าจะตั้งราชธานีที่นั่นแต่เพราะเหตุภูมิประเทศไม่อำนวย ทำให้พวก อินเดียที่อพยพมานี้ผิดน้ำอากาศ จนเกิดโรคระบาดขึ้น ทำให้ต้องอพยพผู้คนต่อไปทางทิศตะออกเฉียงใต้ ไปตั้งถิ่นฐานที่เชิงเขาชวาปราบ ปลายคลองสินปูน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ แต่ก็มีสาเหตุคล้าย ๆ กับที่บ้านน้ำรอบอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จึงจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายต่อไปเพื่อหาชัยภูมิใหม่ได้อพยพขึ้นมาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออีกครั้งและได้มาตั้งหลักแหล่งที่บ้านเวียง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฏร์ธานี แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะโรคห่ายังไม่ขาดหายต้องรื้อถอนต่อไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จนพบหาดทรายอยู่ริมทะเล ภูมิประเทศต้องลักษณะชัยภูมิที่ดี คือ มีลำน้ำและที่ราบเหมาะสำหรับการเกษตรจึงได้สร้างราชธานีขึ้น
ณ ที่นั่น โดยสร้างกำแพงเมือง ปราสาทราชวัง เทวะสถาน และอภิเษกพราหมณ์มาลีขึ้นเป็นกษัตริย์ถวายพระนามว่า “พระเจ้าศรีธรรมโศกราช” พราหมณ์มาลาผู้เป็นน้องเป็นน้องเป็นพระมหาอุปราช ในราว พ.ศ. 1098 พราหมณ์มาลีได้รื้อ เจดีย์เก่าที่ห่อหุ้มพระธาตุออกเพื่อสร้างใหม่กาพยนต์ที่เสกไว้รักษาพระธาตุ ออกมาจิกตีผู้คนจนล้มตายลงเป็นจำนวนมากมายอยู่เสมอพระเจ้าศรีธรรมโศกราช (พราหมณ์มาลี) และพราหมณ์มาลา-อุปราช ตัดสินใจถอยกำลังพลทั้งหมดไปอยู่ที่หุบเขาช่องคอย
แล้วจึงได้เชิญพราหมณ์ให้ทำพิธีสยบความชั่งร้ายโดยเชิญพราหมณ์ (เทวดาเขาแดง) ซึ่งเป็นพราหมณ์ที่มีอาคมเก่งกล้าหลอกล่อกาด้วยอาคมพระเวทไปหาจุดที่กลางคืน ต่อกับกลางวันที่มองเห็นชัดเจนที่สุดในขณะที่พระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขาจึงยิง ด้วยธนูอาคม ซึ่งเป็นธนูอาคมที่เสกขึ้นจนกาทั้งสี่พวกตายไปหมดสิ้น เมื่อสยบเหตุชั่วร้ายทั้งหลายจากอาถรรพ์เมืองนครเก่าได้แล้ว
พระศรีธรรมโศกราช (พราหมณ์มาลี) จึงตั้งหอพระศิวะและตั้งเมืองใหม่ที่ท่าเรือพร้อมทั้งได้แต่งตั้งองค์เทวดาเขาแดง เป็นพระบรมครูพราหมณ์ประจำราชสำนักต่อในปี พ.ศ. 1125 พระเจ้าธรรมโศกราชเสด็จสวรรคตองค์เทวดาเขาแดงจึงได้ออกจากราชสำนักมาบำเพ็ญ ภาวนาอยู่ที่ถ้ำเขาแดง ตลอดมาเป็นที่เคารพบูชาของชาวอำเภอร่อนพิบูลย์ ตลอดมา
วัดคูหาสัตยาราม ( ถ้ำเขาแดง ) ตั้งอยู่ที่ถนนคูหาสัตยาราม ต. หินตก อ. ร่อนพิบูลย์ จ. นครศรีธรรมราช
(องค์เทวดาเขาแดง เดิมท่านเป็นพราหมณ์ในราชสำนักอโศกประเทศอินเดียได้เดินทางมาทางเรือสำเภาพร้อมกันกับ พระเจ้าศรีธรรมโศก พระผู้สร้างเมืองนครศรีธรรมราช พระองค์แรก)
>
คาถาบูชาองค์เทวดาเขาแดง
ยิมบุหมี ยิมบุหมัม ยิมมหา พระยาจอมแหลม ยิมบุเต๊ะ
โอมคุรุเทวะ นะมามิ เทวดาเขาแดง ข้าพเจ้าไหว้แล้วขออัญเชิญ เชิญมา ณ สถานอันเป็นมงคลที่นี้
สิทธิกิจจัง กิจจานุกิจ ซึ่งบำเพ็ญกรณีกิจจงเสร็จสมอย่าค้างขัดข้อง แรมนานเลยนา
สิทธิการิยะตะถาคะโต องค์เทวดาเขาแดง บันดาลปลอดภัยแผ้ว คลาดแคล้วพ้นภัยพาลฉันพลันเทอญนา
สิทธิลาโภ นิรันตะรัง อีกราชลาภทุกสิ่งสรรพจงนิรันดรหลั่งล้นดั่งหนึ่งนทีธารท้น อย่ารู้ขาดสูญเลยนา
สิทธิเตโช ชะโยนิจจัง เดชอำนาจแผ่ทั่วผองอริสยองหย่อนห้าว จงมีชัยชนะทุกด้าน ปราบล้างไพรีแลนา
สัพพะสิทธิ ภะวันตุ โว ขอสรรพพรจงประสาทประสิทธิ์แก่ข้าเสร็จสมดังข้าพ้องพร่ำถวายฉะนี้เทอญ
แหล่งที่มา – ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม , ramrome.page.tl
สายลุยเตรียมพร้อมก่อนไป “เดินป่า” อ่านจบรู้เรื่อง