ประวัติ”พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช” วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช

1747
views
พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช

“วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร” หรือ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ตั้งอยู่ ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นศาสนสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทลังกาวงศ์ บนคาบสมุทรมลายู ตั้งอยู่บนสันทรายโบราณนครศรีธรรมราชซึ่งเรียกว่า “หาดทรายแก้ว” อันเป็นเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราชปัจจุบัน

พระวิหารหลวง หมายถึง วิหารหลังใหญ่ หรืออีกนัยหนึ่งคือวิหารที่เป็นของกลาง เนื่องจากแต่เดิม วัดพระมหาธาตุเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา วิหารหลังนี้จึงเป็นของส่วนรวมที่ใช้ประกอบพิธีกรรมร่วมกัน ต่อมาจึงได้ แปลงเป็น “พระอุโบสถ” แต่ผู้คนยังนิยมเรียกพระวิหารหลวงอยู่เช่นเดิม ในตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชกล่าวว่า พระวิหารหลวง

พระวิหารหลวง

สร้างโดยพระศรีมหาราชา เมื่อมหาศักราช 1550 (พ.ศ. 2171) ในสมัยแรกสร้างนั้นเป็นพระเจดีย์วิหารสูง 7 วา และสร้างรุ่นราวคราวเดียวกับวิหารธรรมศาลา สภาพปัจจุบันเป็นวิหารขนาด 13 ห้อง ลักษณะแบบผนังรับน้ำหนัก ซึ่งเดิมน่าจะออกแบบสร้างเป็นอาคารจตุรมุข ส่วนลักษณะอาคารที่เป็นมุขประเจิด และส่วนฐานแอ่นโค้งก็กำหนดอายุได้ในช่วงอยุธยาตอนกลาง – ตอนปลาย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-23 ซึ่งสอดคล้องกับผลการขุดค้นทางโบราณคดี ที่มีการกำหนดอายุโบราณวัตถุ (อิฐฐานรากอาคาร) ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่ได้ค่าอายุประมาณครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21

พระวิหารหลวง ได้เรียกกันเช่นนี้ก็เพราะถือว่าวิหารนี้เป็นของกลางที่พุทธศาสนิกชนทุกหนทุกแห่งมีสิทธิ์ใช้ร่วมกัน ในสมัยแรกพระสงฆ์ไม่ได้จำพรรษาที่วัดพระมหาธาตุ แต่จำพรรษาที่วัดอื่น ๆ ซึ่งอยู่รอบวัดพระมหาธาตุ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะต้องการให้วัดพระมหาธาตุเป็นของส่วนกลางจริง ๆ

ดังนั้นวิหารซึ่งมีมาแต่เดิมและใช้ประกอบพิธีสักการบูชาพระบรมธาตุร่วมกันนี้จึงเรียกกันว่าพระวิหารหลวง ต่อมาได้มีการดัดแปลงพระวิหารหลวงเป็นอุโบสถ แต่ผู้คนก็ยังเรียกพระวิหารหลวงอยู่เช่นเดิม หาได้เรียกพระอุโบสถไม่ พระวิหารหลวงอยู่ทางด้านใต้ของพระบรมธาตุเจดีย์ อยู่ภายนอกเขตของพระระเบียงคด ถือเป็นพระอุโบสถของวัดพระมหาธาตุ

พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช

พระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธานในวิหารนี้ชื่อว่า “พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช” (พระนั่งวัดมหาธาตุ​นครศรีธรรมราช) ทรงเครื่อง​อย่างกษัตริย์​ ก่ออิฐ​ถือปูน​ลงรักปิดทอง​ ขนาดหน้าตักกว้าง​ 3​ วา​ 1​ ศอก 12​ นิ้ว​ 5​ วา​ ประทับนั่งเป็นประธานในวิหารหลวง​ เป็นพระคู่บ้าน-คู่เมือง​ คู่เมือง​นคร​ศรี​ธรรมราช​ ค้ำฟ้า​ คู่กับพระบรมธาตุ​เจดีย์​มาตั้งแต่​ครั้ง​สมัย​กรุงศรีอยุธยา​ตอนต้น​ เป็นพระพุทธรูปนั่งขนาดใหญ่ ปางมารวิชัย​ ที่มีพุทธ​ลักษณะ​ที่งดงาม​ องค์​พระประทับนั่งแย้มยิ้ม​พระโอษฐ์​ แผ่อานุภาพ​ให้ลืมความทุกข์​โศกด้วยสายพระเนตรที่ทอดลงที่เปี่ยม​ด้วยเมตตาปราณี​บังเกิดความสุขสงบร่มเย็น​ ทั้งนี้เบื้องหน้าพระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช ประทับนั่งเป็นประธานในวิหารหลวง​ มีพระพุทธสาวกซ้าย​ขวา คือพระโมคคัลลาน์ และพระสารีบุตร ประทับนั่งอยู่ด้านซ้ายขวา นอกจากนี้ ยังมีพระพุทธรูปยืนพระพุทธรูปปางต่างๆอีกหลายองค์

พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช

มีตำนานเล่าว่าเมื่อครั้งที่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองนครศรีธรรมราช ทรงขอพระพุทธสิหิงค์จากพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ก่อนเสด็จฯ กลับกรุงสุโขทัยได้ทำสัญญาท้าสร้างพระพุทธรูปแข่งกัน โดยให้เริ่มสร้างพร้อมกัน เสร็จพร้อมกัน และให้ชื่อเหมือนกันว่า พระศรีศากยมุนี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เสด็จฯกลับถึงกรุงสุโขทัยแล้วทั้งสองอาณาจักรสร้างพระพุทธรูปดูฤกษ์ดูยามเริ่มก่อสร้างในวันเวลาเดียวกัน

แต่พระศรีศากยมุนีฯ เมืองนครศรีธรรมราช สร้างได้ใหญ่โตกว่าของกรุงสุโขทัย และชาวนครศรีฯ ถวายนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช

​ อีกตำนานหนึ่งสันนิษฐาน​ว่า​ สร้างขึ้น​ในช่วงที่ “พระพนมวัง” ได้พระพุทธ​รูปองค์​นี้​ว่า​ รับ​แต่ง​ตั้งจาก​ พระบรมไตรโลก​นาถ​ ให้มารับตำแหน่ง​เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช​ ในฐานะ​หัวเมืองเอกแห่งกรุงศรีอยุธยา​ ตามกฎหมาย​ศักดินา​พลเรือน​และ​กฎหมาย​ศักดินาทหาร​หัวเมือง​พระพนมวัง​ จึงเข้ามาจัดสร้างพระพุทธรูป​องค์​ใหญ่​ ดังความในตำนานเมืองนครตอนหนึ่ง​ว่า

“พระเจ้าอยู่หัวให้สร้าง​ป่าให้เป็นนาจงทุกตำบล​ ให้ข้าวแก่คนอันอยู่​ ณ​ เขาให้ออกมาทำไร่​และเป็นฐิ่นฐาน​ที่อยู่​ให้มีชื่อ​ตำบล​ ให้สร้าง​พระพุทธรูป​อัน​ใหญ่อันราม​ แลสร้างไพหารค่อมไว้ และให้พนมวังกฎหมาย​ไว้….”

พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช

พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช แม้จะเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประดิษฐานในพระวิหารใหญ่โต ลำดับต้นๆ ของประเทศ แต่มีคนรู้จักพระนามของท่านน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ที่มีขนาดย่อมกว่า หากได้มาเยือนวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ควรเข้าไปสักการะขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE