สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราชจัดกิจกรรมสืบสานเอกลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ขับร้องเพลงประจำจังหวัดและเพลงรักชาติร่วมสมัย รอบชิงชนะเลิศ
จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช จัดกิจกรรมสืบสานเอกลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ขับร้องเพลงประจำจังหวัด และเพลงรักชาติร่วมสมัย ภายใต้โครงการมหกรรมวัฒนธรรม นครแห่งอารยธรรม ฟุ้งเฟื่องเมืองลิกอร์ ณ หอประชุมโรงละคร องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีนางเรืองอุไร บุญช่วยชูพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประธานในการจัดกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ สืบสาน สร้างสรรค์ และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมให้คงอยู่คู่สังคมไทย โดยใช้เพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาและความสำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีความเป็นลักษณะเฉพาะที่สื่อให้เห็นถึงความมีคุณลักษณะอันโดดเด่น เป็นที่ประจักษ์
นอกจากนั้นยังได้นำเพลงรักชาติร่วมสมัยที่เนื้อหามีความหมายลึกซึ้ง สามารถใช้บทเพลงสอนให้เกิดความรัก ความหวงแหน และความสามัคคีภายในชาติบ้านเมือง
ผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมมีทั้งหมด จำนวน 15 ทีม โดยการประกวดรอบคัดเลือกนั้น คณะกรรมการได้ตัดสินจากไฟล์วีดีโอเพลง และพิจารณาในรอบคัดเลือกเพื่อเข้าสู่กระบวนการตัดสินรอบชิงชนะเลิศในครั้งนี้มี จำนวน 9 ทีม ซึ่งผลการตัดสินการประกวด มีดังนี้
ผลการตัดสิน การประกวดร้องเพลง รุ่นอายุ 13 – 15 ปี มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ คือ ทีม “ร่มฉัตร” โรงเรียนทุ่งสง
รองชนะเลิศอันดับ 1 คือ โรงเรียนโยธินบำรุง
รองชนะเลิศอันดับ 2 คือ โรงเรียนก้างปลาวิทยาคม
ผลการตัดสิน การประกวดร้องเพลง รุ่นอายุ 16 – 18 ปี มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ คือ โรงเรียนโยธินบำรุง
รองชนะเลิศอันดับ 1 คือ โรงเรียนร่อนพิบูลย์เกียรติวสุนธราภิวัฒก์
รองชนะเลิศอันดับ 2 คือ โรงเรียนประสาธน์ราษฎร์บำรุง
ผลการตัดสิน การประกวดร้องเพลง รุ่นอายุ 19 – 22 ปี มีดังนี้
รางวัลชนะเลิศ คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
รองชนะเลิศอันดับ 1 คือ ทีม “ไพเราะวาที” วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
รองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม “วาทีเสนาะ” วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
ทั้งนี้ผู้ประพันธ์บทเพลงประจำจังหวัดและเพลงคำขวัญประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช คืออาจารย์อนิรุทธิ์ พันธุ์ทิพย์แพทย์ โดยการประพันธ์บทเพลงดังกล่าวนั้น มาจากความรักและความภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิด “เมืองนคร” ซึ่งผู้ประพันธ์เป็นอาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านภาษาไทยและวรรณคดี จึงได้ถ่ายทอดความสวยงามของภาษา และประพันธ์ออกมาเป็นบทเพลงประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่สื่อให้เห็นถึงความเป็น “ชาวนครฯ” ได้อย่างไพเราะ
สายลุยเตรียมพร้อมก่อนไป “เดินป่า” อ่านจบรู้เรื่อง