นครศรีธรรมราช เปิดเรียน On-Site เพิ่มอีก 15 โรงเรียน หลังกำหนดมาตรการเข้ม

3222
views

กรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครศรีธรรมราช มีมติเปิดเรียน On-Site เพิ่มอีก 15 แห่ง หลังกำหนดมาตรการเข้มป้องกันควบคุมโรค ขณะที่ผลการฉีดวัคซีนครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายแล้วร้อยละ 76.91

วันที่ (18 ม.ค.65) ห้องประชุมศรีวิชัย ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช นางเรืองอุไร บุญช่วยชูพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งที่ 4/2565 โดยมีนายแพทย์ธรรมสถิตย์ พิบูลย์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องร่วมประชุม

โดยในการประชุมครั้งนี้ทางคณะกรรมการฯ ได้ติดตามและร่วมประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่พบมีแนวโน้มผู้ป่วยรายใหม่ลดลง ขณะที่สถานการณ์การติดเชื้อของสายพันธุ์โอมิครอนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช พบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 1 ราย และมีผู้ป่วยเข้าข่ายยีนยัน ซึ่งเป็นการรับแจ้งผลจาก ศวข.11 (ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี ) จำนวน 72 ราย เป็นหญิง 46 ราย และชาย 26 ราย โดยในจำนวนนี้มีอาการ 17 ราย

เบื้องต้นได้ประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชน และสถานประกอบการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ทั้งการยกระดับการเตือนภัยทุกระดับ ทุกคน และผู้ประกอบการให้ปฏิบัติตามมาตรการ VUCA โดยเฉพาะมาตรการ UP เน้นการสวมหน้ากาก 100% และเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ปิดสถานที่เสี่ยง ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัด เน้น WFH จำกัดการรวมกลุ่ม และเข้มมาตรการ VUCA ทั้งนี้ในส่วนของการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนในพื้นที่นั้น

จากข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช ณ วันที่ 18 มกราคม 2565 มีการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายแล้ว จำนวน 2,043,501 โด้ส ในจำนวนนี้เป็นการฉีดเข็มแรก จำนวน 1,191,603 โด้ส คิดเป็นร้อยละ 76.91 เข็มสอง จำนวน 1,051,464 โด้ส คิดเป็นร้อยละ 67.9 และเข็มสาม จำนวน 199,256 โด้ส คิดเป็นร้อยละ 12.9

อย่างไรก็ตามในการประชุมครั้งนี้ ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครศรีธรรมราช ยังได้มีมติเห็นชอบให้มีการเปิดการเรียนการสอนแบบ onsite ของสถานศึกษาในพื้นที่ที่ได้แจ้งความประสงค์ขอเปิดเรียน onsite เพิ่มเติมอีกจำนวน 15 แห่งด้วย

สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครศรีธรรมราช

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE