ในช่วงนี้ในพื้นที่ ต.ท้ายสำเภา พบการระบาดของเชื้อราสีชมพูในต้นมังคุด โดยมีสาเหตุมาจากเชื้อราที่ชื่อว่า Corticium salmonicolor เชื้อราจะอาศัยอยู่บนกิ่งและง่ามกิ่งหรือลำต้นพืช ทำให้กิ่ง ว่านกิ่งและเปลือกของลำต้น เมื่อฝนตก ความชื้นสูง เชื้อราจะเจริญเติบโตขยายลามออกมากขึ้น
ลักษณะอาการของโรค
ในระยะแรกพบอาการใบไหม้บริเวณปลายกิ่ง และพบเส้นใยสีขาวบริเวณใต้ท้องกิ่งแผ่ขยายเป็นวงกว้าง เมื่อสปอร์พัฒนาเต็มที่จะเห็นลักษณะเส้นใยเป็นสีชมพู ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อราเจริญเข้าไปในเปลือก และลุกลามเข้าไปทำลายท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นมังคุด ทำให้กิ่งของมังคุดบริเวณนั้นแห้งเหี่ยว และตายไปในที่สุด
การแพร่ระบาด
– เชื้อราจะแพร่ระบาดโดยอาศัยลมและน้ำฝน และจะระบาดรุนแรงเมื่อมีความชื้นที่เหมาะสม
– เมื่อสภาวะอากาศไม่เหมาะสมสปอร์ของเชื้อราจะพักตัวอยู่ในรูป Chlamydospore (Chlamydospore คือ สปอร์ที่มีผนังหนาสามารถทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และสามารถอยู่ข้ามฤดู เพื่อระบาดในปีต่อๆไป) และสามารถกลับมาระบาดได้อีกครั้งเมื่อสภาพแวดล้อมและความชื้นเหมาะสม
เทคนิคพิชิตโรค
1. ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคราสีชมพูออกไปเผาทำลายภายนอกแปลง
2. งดการใช้น้ำตาลทางด่วนทุกชนิด เพราะน้ำตาลทางด่วนจะทำให้พืชอ่อนแอ และเป็นแหล่งอาหารของเชื้อสาเหตุ
3. งดการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจนสูง (ปุ๋ยยูเรีย) ในช่วงนี้ เพราะปุ๋ยไนโตรเจนจะทำให้ผนังเซลล์ของพืชบางทำให้เชื้อสาเหตุเข้าทำลายพืชได้ง่าย
เมื่อราสีชมพูรักษายาก ทำยังไงดี ?
วิธีป้องกัน” โดยใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาลงไปคุม เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ คือ มีอาหารอยู่ 1 จาน เชื้อราสีชมพูจะไปกินก็ถูกไตรโคเดอร์มาแย่ง/แบ่ง (ทางวิชาการเรียกการแข่งขัน) ราสีชมพูกินไม่อิ่ม อดๆอยากๆ จึงไม่โต/ไม่ขยายพันธุ์ /ตายไป จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด พืชจะไม่เป็นโรคหรือเป็นแล้วจะไม่ลุกลามต่อ แม้ว่าฝนจะชุก ต้นอ่อนแอ
ด้วยความปราถนาดี – องค์การบริหารส่วนตำบลท้ายสำเภา
สายลุยเตรียมพร้อมก่อนไป “เดินป่า” อ่านจบรู้เรื่อง