เสาอโศก เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า “เสาอโศก”) ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช
หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เมืองเวสาลี
เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล
หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราชที่สารนาถ
แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์
รูปเสาอโศกซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินของอินเดีย
ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ได้นำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า “สตฺยเมว ชยเต” (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน
เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน
… เสาพระเจ้าอโศกที่สมบูรณ์ที่สุด บ่งบอกว่า สถานที่นี้ คือ กูฏาคารศาลา เคยเป็นที่ประทับของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
– ณ สถานที่นี้ พระพุทองค์ทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี (พระน้านางของพระพุทธองค์) พร้อมกับบริวาร สามารถอุปสมบทเป็นภิกษุณีได้เป็นครั้งแรกในโลก
– พระพุทธองค์ได้ทรงจำพรรษาสุดท้ายที่นี่และได้ทรงปลงอายุสังขารที่ปาวาลเจดีย์ (3 เดือนก่อนปรินิพพาน)
– หลังพุทธปรินิพพานแล้วได้ 100 ปี ได้มีการทำสังคายาครั้งที่ 2 ณ วาลิการาม ซึ่งทั้งหมดล้วนอยู่ในเมืองเวสาลี
ป.ล. เสาพระเจ้าอโศกของจริงมีมนต์ขลังมาก งดงาม ต้องอนุโมทนาบุญกับพระเจ้าอโศกมากๆ ที่ทำให้สถานที่ตามพุทธประวัติไม่หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์
… เสาต้นนี้รอดพ้นสายตาจากการทำลายพุทธศาสนาโดยศาสนิกอื่นอย่างอัศจรรย์
#เมืองไวสาลี
#วัดป่ามหาวัน
ที่มา : wikipedia | เพจ Ittipon Bbet Pokiyaku
สายลุยเตรียมพร้อมก่อนไป “เดินป่า” อ่านจบรู้เรื่อง