จากกรณีประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2561 ที่จะมีผลในวันที่ 1 พ.ค. 61 เป็นต้นไป มุ่งคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกละเมิดสิทธิ์ เช่น การเรียกเก็บค่าเช่าล่วงหน้า การคิดราคาค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และการแจ้งยกเลิกสัญญาเช่า หากผู้ประกอบการไม่ปรับสัญญาตามที่กฎหมายกำหนดผู้บริโภคสามารถร้องเรียนเข้าไปยัง สคบ.ได้ผ่านสายด่วน 1166 โดยมีบทลงโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับต่อสัญญา 1 ฉบับ
โดยภาครัฐจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจัง เนื่องจากที่ผ่านมามีหอพักหลายแห่งเก็บค่าใช้จ่ายเกินราคาในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริงมาก
สำหรับประกาศฉบับดังกล่าว มีรายละเอียดสำคัญ เช่น การกำหนดให้ผู้ประกอบธุกิจต้องเก็บค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าตามจริงที่หน่วยงานทั้ง 2 แห่งกำหนดไว้ ผู้ประกอบการสามารถเรียกเก็บเงินค่าเช่าล่วงหน้าได้ไม่เกิน 1 เดือน และผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ก่อนสิ้นสุดสัญญาเช่าซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 30 วัน
นอกจากนี้ ผู้เช่าสามารถบอกยกเลิกสัญญาเช่าได้ แต่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน เช่น กรณีทำสัญญาเช่า 12 เดือน แต่อยู่ไป 6 เดือน และเดือนที่ 7 จะออกก็ต้องบอกหลังจากสิ้นสุดในเดือนที่ 6 ก็สามารถทำได้ ส่วนกรณีที่สัญญาสิ้นสุดและผู้บริโภควางเงินประกันไว้ หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ ผู้ประกอบการต้องคืนเงินให้ผู้บริโภคทันที ยกเว้นว่าผู้ประกอบการขอตรวจสอบความเสียหายในห้อง ซึ่งให้เวลาตรวจสอบ 7 วัน
ส่วนการประกันที่มี 2 รูปแบบ คือ ประกันค่าเช่าล่วงหน้า ถ้าผู้เช่าจะออกไม่ต้องจ่าย ขณะที่ประกันความเสียหาย ถ้าไม่เสียหายก็ต้องคืนเงินให้ผู้เช่า ซึ่งต้องดูว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเพียงพอกับเงินประกันหรือไม่ ถ้าความเสียหายมากกว่าก็ต้องจ่ายเพิ่ม แต่ถ้าน้อยกว่าก็ต้องคืนส่วนต่าง ทั้งนี้ หากผู้เช่าไม่ได้รับความเป็นธรรมในสัญญาเช่า สามารถร้องเรียนได้ที่ สคบ. หรือปรึกษาสายด่วน 1166
ทั้งนี้ ปัจจุบันอัตราค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากบ้านพักที่อยู่อาศัย คือ 3.90 บาท/หน่วย แต่กลับพบว่า หอพักหลายแห่งเรียกเก็บในอัตรา 7-10 บาท/หน่วย ขณะที่ค่าน้ำประปา ปัจจุบันเรียกเก็บจากบ้านพักที่อยู่อาศัย 7 บาท/หน่วย แต่หลายหอพักเรียกเก็บในอัตราเกือบ 20 บาท/หน่วย.
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/035/12.PDF
ดูข่าวต้นฉบับ
สายลุยเตรียมพร้อมก่อนไป “เดินป่า” อ่านจบรู้เรื่อง