ยืนยงยาวนานพันกว่าปีจาก’เมืองพระเวียง สู่เมืองนครศรีธรรมราช

6866
views
จากเมืองพระเวียงสู่เมืองนคร

ยาวนานพันกว่าปีจากเมืองพระเวียง สู่เมืองนครศรีธรรมราช จากแผ่นดินพระนารายณ์สู่กรุงรัตนโกสินทร์

กำแพงเมืองคอน

กำแพงเมืองคอน

( กำแพงเมืองคอน มีหลักฐานตามตำนานควบคู่กับเมืองคอน กำแพงชั้นแรกสุดมีความเก่าแก่พอๆกับเมืองคอน กำแพงเดิมของเมืองคอนคือ”กำแพงเมืองพระเวียงหรือเมืองกระหม่อมโคก” มีลักษณะทำเป็นแบบปักเสาพูนดิน สร้างในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราชโดยชาวอินเดียฝ่ายใต้และมอญในสมัยที่เรียกเมืองนครว่า”ตามพรลิงค์”เมื่อ พ.ศ. 1198 / ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ – ภาพโดย เมืองคอน.com )

แผนผังเมืองพระเวียง

จากหลักฐานที่มีผู้สำรวจพบว่า มีการย้ายมาตั้งเมืองใหม่ที่เมืองพะเวียง หรือเมืองโคกกระหม่อม ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองท่าเรือลงมาทางใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 17 ก่อน ถูกทำลายภายในคูน้ำและกำแพงดินที่ล้อมรอบตัวเมือง ซากโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมาย ส่วนใหญ่อยู่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ 17-18 มีการพบศิลาจารึกที่ดงแม่นางเมืองอันเป็นเมืองโบราณในสมัยทวาราวดีในจังหวัดนครสวรรค์ที่กล่าวถึงพระเจ้าศรีธรรมโศกราชโปรดให้กัลปนาที่ดินเข้าพระและสิ่งของถวายเป็นพระบูชาแด่พระเจดีย์ที่บรรจุอิฐิของพระเจ้าศรีธรรมโศกราชองค์ก่อนที่สวรรคตไปแล้ว แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของเมืองทั้งสอง

พระเจ้าศรีธรรมโศกราช กษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราช ทรงสร้างพระบรมธาตุ ที่โคกกระหม่อม เมื่อปี พ.ศ. 1719
( พระเจ้าศรีธรรมโศกราช กษัตริย์เมืองนครศรีธรรมราช ทรงสร้างพระบรมธาตุ ที่โคกกระหม่อม เมื่อปี พ.ศ. 1719 / ลุ่มน้ำปากพนัง ผอ.ธวัช ทวีชนม์ )

ตำนานพระบรมธาตุนคร

ตำนานเมืองนครศรีธรรมราชและตำนานพระบรมธาตุ ซึ่งกล่าวถึงพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้นำไพร่พลหนีไข้ยุบล (โรคห่า) มาสร้างเมืองใหม่บนหาดทรายทะเลรวม จนเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาและเมืองท่าค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า มีพระราชอำนาจและบารมีมาก จนเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ทั่วคาบสมุทรแหลมมลายู มีหัวเมืองปกครองถึง 12 หัวเมือง ที่เรียกว่าเมือง 12 นักษัตร ในยุคนั้น เมืองตามพรลิงค์ หรือนครศรีธรรมราช ยังได้ยกทัพไปตีเมืองลังกาถึง 2 ครั้ง ครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรืองอยู่เป็นเวลากว่าร้อยปี มีพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ปกครองสืบต่อกันมาอีก 5 พระองค์ จากนั้นก็เริ่มเสื่อมโทรมลง หลังจากยกกองทัพไปตีเมืองลังกาแล้วโจรชวาเข้าปล้นเมืองถึง 3 ครั้ง ซ้ำยังเกิดข้าห่าระบาดอีก ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก เป็นเหตุให้บ้านเมืองถูกทิ้งร้างไปในที่สุดอีกครั้งหนึ่ง

พระเจ้าศรีธรรมโศกราช
( พระเจ้าศรีธรรมโศกราช )

หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พระปลัด (หนู) ผู้รักษาเมืองนครศรีธรรมราชในขณะนั้น ได้ตั้งตัวเป็นอิสระ เรียกว่า “ชุมนุมเจ้านคร” มีหัวเมืองฝ่ายใต้มารวมเข้าด้วยเป็นอันมาก ทั้ง ชุมพร ปะทิว หลังสวน ไชยา กระบุรี ระนอง ตะกั่วป่า พังงา ตรัง กระบี่ ถลาง สตูล กาญจนดิษฐ์ และปะลิศ พระเจ้าตากสินทรงใช้เวลาถึงสามปี จึงตีเมืองเหล่านี้ได้สำเร็จ นำตัวพระปลัดหนูไปไว้ที่กรุงธนบุรี และทรงแต่งตั้งพระเจ้าหลานเธอ เจ้าราสุริยวงศ์ ไปครองเมืองนครศรีธรรมราช แล้วยกฐานะอีกครั้ง คุณปรางน้องสาวคุณฉิม ก็ได้รับราชการเป็นพระสนมของพระเจ้าตากสินอยู่ระยะหนึ่งด้วย แต่ต่อมาได้พระราชทาน คุณปรางซึ่งขณะนั้นตั้งครรภ์ได้ 2-3 เดือนแล้ว แก่เจ้านคร (พัฒน์) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอุปราชเมืองนครภายหลังคลอดบุตรเป็นชายชื่อ น้อย ซึ่งต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ครองเมืองนครต่อจากเจ้านคร (พัฒน์) มีสมญานามว่า “เจ้าพระยาน้อยคืนเมือง” ด้วยถือว่าเป็นเชื้อสายของเจ้านครหนูโดยตรง และเชื่อว่าเป็นโอรสของพระเจ้าตากสินอีกด้วย เจ้าพระยาน้อย เป็นผู้มีความสามารถทั้งในด้านการปกครอง การรบ และการทูต บุตรของท่านหลายคนได้เป็นผู้ปกครองหัวเมือง ทางใต้ทั้งเมือง ไชยา กาญจนดิษฐ์ เกาะสมุย พังงา ตะกั่วป่า ตรัง พัทลุง และไทรบุรี

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE