ตะลึง! ผลสำรวจ “ผู้สูงวัยไทย” พบงานอดิเรก 1 ใน 4 นิยมเล่นพนันเมินเข้าวัด

1056
views

“นิด้าโพล” เผยผลสำรวจพฤติกรรมของผู้สูงวัยต่อกิจกรรมที่ทำบ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่ทำกิจกรรมภายในบ้าน แต่ 1 ใน 4 มีงานอดิเรกที่อาจมีการพนันขันต่อ เช่น ชนไก่ แข่งนกขัน เล่นหวย ซื้อสลากกินแบ่ง ส่วน 83.52% ระบุว่า ไม่เข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด

วันนี้ (8 ก.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ร่วมกับศูนย์วิจัยสังคมสูงอายุ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลสำรวจความคิดเห็นเรื่องผู้สูงวัยไทยใส่ใจสังคมมากน้อยแค่ไหน โดยการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 60 ปีขึ้นไปในทุกภูมิภาค 1,250 คน ระหว่างวันที่ 8,14-15,29 พ.ค.และ 4-5 มิ.ย.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันของผู้สูงวัยไทยในช่วง 3 เดือนก่อนที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จากการระบาดของ COVID-19

จากการสำรวจเมื่อถามถึงพฤติกรรมของผู้สูงวัยต่อกิจกรรมที่ทำบ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ทำกิจกรรมประจำวันอยู่ภายในบ้าน และมีประมาณ 1 ใน 4 ที่มีงานอดิเรกที่อาจมีการพนันขันต่อ หนึ่งครั้งต่อเดือน

“ส่วนกิจกรรมที่ผู้สูงวัยไม่เคยทำในชีวิตประจำวัน เกินกว่าครึ่งร้อยละ 65.36 ระบุว่ากิจกรรมนอกบ้านกับครอบครัว เช่น ดูหนัง กินข้าว และร้อยละ 54.08 ระบุว่างานอดิเรกที่อาจมีการพนันขันต่อ เช่น ชนไก่ แข่งนกขัน เล่นหวย ซื้อสลากกินแบ่ง”

ส่วนกิจกรรมที่ผู้สูงวัยทำทุกวันในชีวิตประจำวัน เกินกว่าครึ่ง ร้อยละ 80.96 ระบุว่ากิจกรรมภายในบ้านที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากนัก เช่น ฟังวิทยุ ดูทีวี อ่านหนังสือพิมพ์หนังสือ รองลงมา ร้อยละ 74.96 ระบุว่า กิจกรรมในบ้านที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ทำความสะอาดบ้าน ทำอาหาร ทำสวนครัวสวนดอกไม้ และร้อยละ 64.64 ระบุว่า ออกกำลังกาย เช่น การเดิน โยคะ แอโรบิค ว่ายน้ำ เต้นรำรำไทย

ผู้สูงวัยที่ระบุว่า เป็นสมาชิกของกลุ่ม องค์กร พบว่าร้อยละ 52.70 เป็นสมาชิกขององค์กรของผู้สูงอายุหรือผู้เกษียณ เช่น สมาคมผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ องค์การทหารผ่านศึก รองลงมาร้อยละ 46.28 เป็นสมาชิกขององค์กรทางวิชาชีพ เช่น สหกรณ์ สมาคมแพทย์ ส่วนร้อยละ 5.07 องค์กรทางสังคม หรือทางนันทนาการ และอีก ร้อยละ 3.04 องค์กรทางการเมือง เช่น พรรคการเมือง และร้อยละ 1.35 องค์กรด้านชาติพันธุ์เชื้อชาติ เช่น หอการค้าไทย-จีน สมาคมแต้จิ๋ว สมาคมปักษ์ใต้

สำหรับการเข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัดศาสนสถาน หรือในชุมชนของผู้สูงวัย พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.52 ระบุว่า ไม่เข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด ศาสนสถาน หรือในชุมชน ในขณะที่ ร้อยละ 16.48 ระบุว่า เข้าร่วม ทำงานอาสาสมัครในวัด ศาสนสถาน หรือในชุมชน

ผู้สูงวัย ไม่ใช้สื่อสังคมออนไลน์-แต่มีมือถือเพื่อติดต่อ

ผู้สูงวัยที่ระบุว่า เข้าร่วมทำงานอาสาสมัครในวัด ศาสนสถาน หรือในชุมชน พบว่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 49.03 เป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) รองลงมา ร้อยละ 40.29 เป็นกรรมการวัดศาสนสถาน/โบสถ์ ร้อยละ 11.17 เป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (อผส.) และร้อยละ 6.80 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาสาสมัครตำรวจบ้าน กรรมการหมู่บ้าน อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน สำหรับ การเป็นอาสาสมัครโครงการธนาคารเวลา มีเพียงร้อยละ 0.49 ของผู้สูงวัย

ผู้สูงวัยส่วนมากไม่ใช้สื่อทางสังคม แต่ทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือ เพื่อติดต่อสื่อสาร สำหรับการใช้สื่อทางสังคมของผู้สูงวัย พบว่า ผู้สูงวัยส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.72 ระบุว่า ใช้ไลน์ รองลงมา ร้อยละ 30.56 ระบุว่า ใช้เฟซบุ๊ก ร้อยละ 29.60 ระบุว่า ใช้ยูทูบ ร้อยละ 4.80 ระบุว่าใช้อินสตราแกรม และร้อยละ 3.44 ระบุว่าใช้ทวิตเตอร์

อ่านต้นฉบับ

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช
 
SHARE