วังโบราณลานสกา อดีตบรรพชนชาวนคร

10020
views
วังโบราณลานสกา อดีตบรรพชนชาวนคร

วังโบราณลานสกา ตั้งอยู่ที่ ซ.วังสาย ม.๖ ต.ลานสกา อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ไม่ไกลกันนัก มีวัดลานสกาใน และวัดน้ำรอบ ซึ่งเป็นวัดโบราณในยุคเดียวกับวังโบราณ ให้ได้สักการะบูชา รำลึกถึงอดีตบรรพชนชาวนคร

วังโบราณลานสกา อดีตบรรพชนชาวนคร

ในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช (พระเจ้าจันทรภาณุ) หลังจากครองเมืองนครศรีธรรมราช มาระยะหนึ่ง ทรงอพยพพลหนีโรคระบาดไข้ห่า ขึ้นไปตามต้นของสายน้ำ ไปตั้งบ้านตั้งเมืองที่ใจกลางหุบเขาลานสกา และเรียกเมืองของพระองค์ว่า “มลราช” ได้สถาปนาพระราชวังที่ในหุบเขา “เขาวัง” และได้ให้ พระนนทราชา อุปราชของพระองค์ สร้างวังหน้าที่ “บริเวณน้ำตกหนานโจน” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริเวณวังโบราณลานสกาที่มีการขุดค้นพบกันในปัจจุบัน และประทับอยู่ที่นี่จนไข้ห่าที่ระบาดหายไป

วังโบราณลานสกา อดีตบรรพชนชาวนคร

ด้วยพระปรีชาของพระองค์ พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ทรงคิดวิธีรักษาไข้ห่าให้กับผู้คนโดย เอาปรอทมาทำเป็นหัวนะโม แล้วหว่านไปทั่วต้นน้ำนั้น ผู้คนที่ใช้น้ำจากน้ำสายนี้ทั้งการหุงต้มและการดื่มกิน ปรากฏว่าไข้ห่าที่ระบาดอยู่นั้นได้หายไปจากนครศรีธรรมราชนับแต่นั้น และทรงเสด็จกลับเข้าเมืองนครศรีธรรมราชอย่างถาวร

วังโบราณลานสกา อดีตบรรพชนชาวนคร

วังโบราณลานสกา อดีตบรรพชนชาวนคร

หลังจากที่พระพนมวังและนางสะเดียงทอง ได้มาฟื้นฟูบูรณาการบ้านเมืองใหม่ ทำให้เมืองมลราช กลายเป็นชุมชนลานสกา และค่อยๆลดบทบาทลงจนเป็นชุมชนๆหนึ่งในที่สุด ด้วยภูมิประเทศแปรเปลี่ยน ทำให้วังโบราณค่อยๆ จมลงในดินทีละนิด จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๑๔ ได้มีการสร้างพระรูปพระเจ้าศรีธรรมโศกขึ้น

วังโบราณลานสกา

โดยใช้ต้นแบบจากองค์พระในวิหารสามจอม ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๑๘ เกิดอุทกภัย พระรูปจมน้ำสูญหาย จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๖ พ่อท่านวิน วัดลานสกาใน พร้อมด้วยประชาชนชาวลานสกาทุกภาคส่วน ได้ร่วมมือกับท่าน พล.ต.ต. ขุนพันธรักษ์ราชเดช ฟื้นฟูบูรณะวังโบราณอีกครั้ง และได้ร่วมกันสร้างมณฑปพระเจ้าศรีธรรมโศกไว้เป็นที่บูชากันสืบมา มีการขุดค้นทางโบราณคดี ได้โบราณวัตถุพวกกระเบื้อง และภาชนะต่างๆ มากมาย

วังโบราณลานสกา อดีตบรรพชนชาวนคร

วังโบราณลานสกา อดีตบรรพชนชาวนคร

วังโบราณลานสกา

วังโบราณลานสกา ภาพ – ตลอนเมืองคอนฯ
วังโบราณลานสกา ภาพ – ตลอนเมืองคอนฯ

ที่มา/ภาพ – ศูนย์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม / ขนิษฐา สุขคง / ตลอนเมืองคอนฯ

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE