ลูกหลานชาวเมืองคอน สะท้อนภูมิปัญญาบรรพบุรุษ

2159
views

ด้วยในเดือนนี้ซึ่งเป็นเดือนแห่งการสืบสานประเพณีสารทไทยและในฐานะที่ตัวผู้เขียนเองซึ่งเป็นลูกหลานชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยแท้
พิธีกวนข้าวทิพย์


จึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับ “ประเพณีสารทเดือนสิบของจังหวัดนครศรีธรรมราช” งานบุญประเพณีที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดแห่งปักษ์ใต้มาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นเกร็ดความรู้ให้แก่ท่านผู้อ่าน วันสำคัญที่ว่านั้นก็คือ“วันสารทไทย” เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตามความเชื่อเกี่ยวข้องกับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว กำหนดให้ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ของทุกปี ซึ่งมักจะตกช่วงปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคมของทุกปี อันที่จริงแล้วการทำบุญวันสารทเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏหลักฐานในหนังสือนางนพมาศและปรากฏหลักฐานในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรียกว่า“พระราชพิธีกวนข้าวทิพย์” หรือ“พระราชพิธีภัทรบท” ในทางศาสนาพราหมณ์ถือว่าเป็นพิธีลอยบาป พิธีนี้กระทำเพื่อปัดเป่าอุบาทว์ทั้งหลายทั้งปวง เพื่อให้เป็นมงคลแก่ข้าวในนา ที่เป็นเช่นนี้เพราะในสมัยก่อนนอกจะนับถือศาสนาพุทธ แล้วไทยก็ได้รับอิทธิพลและประเพณีมาจากศาสนาพราหมณ์ด้วยเช่นกัน

พิธีกวนข้าวทิพย์
การทำบุญวันสารทจึงถือเป็นประเพณีไทยที่สืบทอดต่อกันมาช้านานและมีในหลายๆภูมิภาค และมีชื่อเรียกต่างกันเช่น ภาคกลางเรียกว่า “สารทไทย” ภาคเหนือเรียก “งานทานสลากภัต” หรือ”ตานก๋วยสลาก” ภาคอีสานเรียก “ทำบุญข้าวสาก” ภาคใต้เรียก “งานบุญเดือนสิบ” หรือ “ประเพณีชิงเปรต” ถึงแม้ว่าการทำบุญเดือนสิบในแต่ละท้องที่จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน แต่ก็มีจุดประสงค์เดียวกัน คือ การทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต จะได้เป็นการเตือนใจตัวเองว่า ชีวิตได้ดำเนินผ่านมาเกือบปีแล้วควรจะได้สร้างบุญกุศลไว้เกื้อหนุนการดำเนินชีวิตในภายภาคหน้า และดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาทตามหลักของพุทธศาสนา ซึ่งนอกจากการทำบุญให้กับตนเองแล้ว ยังมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่บรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง ผู้ล่วงลับไปแล้ว..

ลูกหลานชาวเมืองคอน สะท้อนภูมิปัญญาบรรพบุรุษ / ญาดา พัชระ
ตอนที่ 1

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE