นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ

4026
views
นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์

นครศรีธรรมราช เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู

จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557 จ.นครศรีธรรมราช มีประชากรมากเป็น อันดับ 6 ของประเทศ มีประชากร 1,584,028 คน แยกเป็นชาย 766,756 คน  เป็นหญิง 781,262 คน

จังหวัดนครศรีธรรมราช มีเนื้อที่ประมาณ 6,214,064 ล้านไร่ หรือ 9,942,502 ตารางกิโลเมตร เป็นอันดับที่ 16 ของประเทศ

ประกอบด้วยชายหาด ป่าชายเลน ตอนกลางของพื้นที่เป็นเทือกเขาทอดตัวยาวตามแนวเหนือใต้ โดยมียอดเขาหลวงเป็นยอดสูงสุด ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าในแถบ  เทือกเขาทำให้เป็นแหล่งน้ำสำคัญ  เกิดเป็นน้ำตกที่สวยงามมากมายกระจายไปแทบทุกอำเภอนครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสําคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนา

พระบรมธาตุฯ นครศรีธรรมราช

นครศรีธรรมราช มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมาไม่น้อยกว่า 1,800 ปี มาแล้ว หลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ว่า

นครศรีธรรมราช มีกําเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อย มีการพบเครื่องหินที่มีตัวขวานยาวใหญ่ (บางคนเรียกว่าระนาดหิน) ที่อําเภอท่าศาลา

ในยุคโลหะ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือ กลองมโหระทึกสําริด 2 ใบ ที่บ้านเกตุกาย ตําบลท่าเรือ อําเภอเมืองฯ และที่คลองคุดด้วน อําเภอฉวาง

คำว่า “นครศรีธรรมราช” น่าจะมาจากสร้อยพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครองนครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช คํานี้แปลความได้ว่า “นครอันงามสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม” และธรรมของราชาแห่งนครนี้ก็คือธรรมแห่งพระพุทธศาสนาพุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นช่วงที่นครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด

ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองน่าจะเนื่องมากจากการเป็นสถานีการค้าสําคัญของคาบสมุทรไทย

แหลมตะลุมพุก

เป็นจุดพักถ่าย ซื้อสินค้าระหว่างตะวันออกกับตะวันตกที่ดีที่สุดในเวลานั้น ประกอบกับบริเวณหาดทรายแก้วอันเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ ความศรัทธาและความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนาจึงเป็นปัจจัยชักนําให้ผู้คนจากทุกสารทิศในภาคใต้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในนครศรีธรรมราชอย่างหนาแน่น

ในราว พ.ศ. 1700 เศษ ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราชก็สามารถจัดการปกครองหัวเมืองรายรอบได้สําเร็จถึง 12 เมือง เรียกว่าเมืองสิบสองนักษัตรเมืองนครศรีธรรมราช หรือนครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม รุ่งเรืองอยู่ประมาณร้อยกว่าปี และเสื่อมลงเมื่อยกทัพไปตีเมืองลังกา และโจรชวาถือโอกาสเข้าปล้นเมืองถึง 3 ครั้ง ประกอบกับเกิดไข้ห่าระบาด จึงเป็นเหตุให้บ้านเมืองถูกทิ้งร้างจนกระทั่งสมัยอยุธยา ผู้คนเริ่มกลับมาตั้งบ้านเมืองใหม่อีกครั้ง และนครศรีธรรมราชได้กลายมาเป็นหัวเมืองฝ่ายใต้ของราชอาณาจักรอยุธยา

 ศรีธรรมาโศกราช

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการแก้ไขการปกครองหัวเมืองปักษ์ใต้ใหม่ นครศรีธรรมราชได้เปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. 2439

จนกระทั่ง พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงได้ยุบมณฑลนครศรีธรรมราช และเปลี่ยนมาเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราชจนถึงปัจจุบันจังหวัดนครศรีธรรมราชแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 23 อำเภอ

ได้แก่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอปากพนัง อำเภอชะอวด อำเภอทุ่งสง อำเภอท่าศาลา อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอสิชล อำเภอลานสกา อำเภอพิปูน อำเภอหัวไทร อำเภอทุ่งใหญ่ อำเภอฉวาง อำเภอขนอม อำเภอนาบอน อำเภอพรหมคีรี อำเภอบางขัน อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอถ้ำพรรณรา อำเภอพระพรหม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอนบพิตำ และอำเภอช้างกลาง

: ประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช Clip by ธีรวิทย์ วารีวนิช

 
ถมนคร : คุณค่าที่คู่ควร ถมนคร, thomnskhon
 
SHARE